วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กระบวนการทางธุกิจ




นวัตกรรมคือส่วนสำคัญของกระบวนการทางธุรกิจ 

(Innovation as a Core Business Process)

           
นวัตกรรมที่เปรียบเสมือนหัวใจของกระบวนการทางธุรกิจ ที่แสดงถึงความคิดริเริ่มประกอบกับการนำความคิดริเริ่มเหล่านั้น มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งกระบวนการทางนวัตกรรมนี้เอง จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้ ซึ่งในบทความนี้จะแสดงให้เห็นว่า กระบวนการดังกล่าวยังมีส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆอีกหลายประการเช่น






• การค้นหา (Searching)
           เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อตรวจจับสัญญาณของทั้งโอกาส และอุปสรรค สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

• การเลือกสรร (Selecting)
           เป็นการตัดสินใจเลือก สัญญาณที่สำรวจพบเหล่านั้น เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ทั้งนี้การเลือกสรรจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับหลักกลยุทธ์ขององค์กรด้วย

• การนำไปปฏิบัติ (Implementing)
           เป็นการแปลงสัญญาณที่มีศักยภาพ ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นออกเผยแพร่สู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่การแปลงสัญญาณที่ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น หากแต่จะเกิดขึ้น ด้วยผลของการดำเนินขั้นตอนที่สำคัญอีก 4 ประการดังต่อไปนี้

          
 1. การรับ (Acquiring)
             
คือขั้นตอนของการนำองค์ความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากกระบวนการทางการวิจัยและพัฒนา (R&D), การทำวิจัยทางการตลาด (Market Research) รวมไปถึง การได้รับองค์ความรู้จากแหล่งอื่นๆ โดยการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี (Technology Transfer) หรือการค้นคว้าร่วมกันในเครือพันธมิตร (Strategic Alliance) เป็นต้น

         
  2. การปฏิบัติ (Executing)
             
คือขั้นตอนของการนำโครงการดังกล่าวปฏิบัติงาน ภายใต้สภาพของความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยทักษะของการแก้ไขปัญหา (Problem – Solving) ตลอดเวลา

          
 3. การนำเสนอ (Launching)
              คือการนำนวัตกรรมที่ได้ออกสู่ตลาด โดยอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถเป็นที่ยอมรับจากตลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการนำออกสู่ตลาด

          
 4. การรักษาสภาพ (Sustaining)
             
คือการรักษาสถานะภาพการยอมรับจากตลาด ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปและคงอยู่ให้นานเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขณะเดียวกันอาจต้องนำนวัตกรรมนั้นๆกลับมาทำการการปรับปรุง แก้ไขในแนวความคิดหรือทำการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น (Reinnovation) เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ถูกพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น

• การเรียนรู้ (Learning)
           เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรควรที่จะศึกษา และเรียนรู้ ในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการทางนวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข็งแกร่ง และสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการสำหรับจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรมเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
           สิ่งท้าทายอย่างหนึ่งที่องค์กรต่างต้องเผชิญคือ การพยายามค้นหาวิธีการที่จะจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรม เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด แต่ด้วยสถานการณ์ของการนำไปใช้แก้ปัญหานั้นมีความแตกต่างกัน จึงทำให้วิธีการจัดการมีความแตกต่างกันออกไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น องค์กรขนาดใหญ่ ที่มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี เช่น บริษัทด้านเภสัชกรรม ต่างๆ มักจะมีวิธีที่ใช้สำหรับค้นคว้าหาผลลัพธ์ จากกระบวนการการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของตนเองเป็นหลัก หรือ ในบางครั้งอาจใช้วิธีการสรรหา สิทธิบัตรที่ตนเองต้องการด้วยก็ได้ ในขณะที่ หน่วยงานทางวิศวกรรกรรมขนาดเล็กๆ เช่นผู้รับเหมา มักจะให้ความสนใจกับวิธีการสัมฤทธิ์ผลเร็วที่สุด เป็นต้น นอกจากนี้ บรรดาผู้ค้าปลีกทั้งหลาย ซึ่งมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการทำการวิจัยและพัฒนามากนัก มักจะเน้นหนักไปที่การสำรวจจากสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อหาแนวโน้มของความต้องการของลูกค้า  ทำให้พวกเขาต้องเน้นวิธีการดำเนินงานด้วยวิธีทางการตลาด (Marketing) ค่อนข้างมาก  ผู้ผลิตสินค้าอุปโภค บริโภค (Consumer Goods Producer) ก็เช่นกัน เขาต้องมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อนำออกสู่ตลาด ที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา, องค์กรทางวิศวกรรมขนาดใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือกระบวนการผลิต เช่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้า มักจะให้ความสำคัญกับเรื่องของการออกแบบเป็นลำดับต้นๆ และจะเน้นหนักไปที่ การจัดการโครงการ และการผสมผสานงานจากหน่วยปฏิบัติการย่อยต่างๆให้เข้ากันอย่างเป็นระบบ หรือแม้แต่ หน่วยงานภาครัฐเองที่ต้องให้ความสำคัญกับกฏระเบียบทางสังคมและการเมืองเป็นลำดับแรกๆ เป็นต้น
          
ถึงแม้ว่าธุรกิจหรือองค์กรจะมีลักษณะที่แตกต่างกันเพียงไร แต่รูปแบบของกระบวนการทางนวัตกรรมในแต่ละขั้นนั้น ก็ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง 
           การจัดการทางนวัตกรรมในมุมมองทั่วไป ก็เปรียบเสมือน ความสามารถในการเรียนรู้ (Learn Capability) ที่แต่ละองค์กรควรต้องกระทำอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะให้ได้วิธีการและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตนเองมากที่สุด ไม่ได้เป็นแค่เพียงการลอกเลียนมาจากแหล่งหนึ่งแหล่งใด แล้วนำมาใช้โดยตรงเลยเท่านั้น แต่จำเป็นที่จะต้องรู้จักนำมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับแต่ละสถานการณ์ขององค์กรให้ได้มากที่สุดอีกด้วย 



                      สมาชิกกลุ่ม

นางสาว ยุพารัตน์        เจริญผล          
551805011
นางสาว วารุณี            ศรีจันทร์ตา       551805018 
นางสาว ทิพวรรณ       สิงห์จัน            551805027
นางสาว ลักษณ์พิรา    ทาแก้ว            551805031
นางสาว มาริษา           ก้อนคำ            551805036