วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หยุดความรุนแรง ยุติ ปัญหานักเรียน นักเลง

นักเรียนนักเลงก่อคดียิงดับ 2 ศพ

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน 2555 เวลา 05:24 น.

            วันนี้ (13 มิ.ย.) ขณะที่ ร.ต.อ.สุเทพ ปานสีเส้ง พงส.(สบ1) สน.ดอนเมือง กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ สน.ดอนเมือง ก็ได้รับแจ้งเหตุจากนายทองใบ โพธิ์ศรีราช อายุ 53 ปี พนักงานขับรถโดยสารสาย 59 วิ่งระหว่าง รังสิต – อนุสาวรีย์ชัยฯ ว่า มีนักเรียนนักเลงใช้อาวุธปืนไล่ยิงอริต่างสถาบันบนรถ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บอีก 2 ราย เบื้องต้นพนักงานขับรถเมล์คันดังกล่าว ได้นำรถเข้ามาภายใน สน.ดอนเมือง จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบและไปตรวจสอบพร้อม พล.ต.ต.พิสิฏฐ์ พิสุทธิ์ศักดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.สำเริง สุวรรณพงษ์ ผบก.น.2 พ.ต.อ.เจริญ ศรีศศลักษณ์ รองผบก.น.2 พ.ต.อ.สำราญ นวลมา ผกก.สน.ดอนเมือง
                จากการตรวจสอบบนรถประจำทางสาย 59 สีครีมแดง หมายเลขทะเบียน 12-0332 กทม. หมายเลขข้างรถ 1-42293 บนพื้นรถเมล์คันดังกล่าว พบศพ นายวันชัย ทองสองแก้ว 21 ปี นักศึกษาชั้นปีที่1 โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ สภาพนอนหงายเหยียดยาวเสียชีวิต สวมเสื้อสีขาว กางเกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบ ข้างตัวมีปลอดมีดเหน็บอยู่ ถูกยิงที่ใต้รักแร้ขึ้นมาจนถึงต้นแขนซ้ายจำนวน 8 นัด เสียชีวิตกลางทางเดินบนรถเมล์ ส่วนอีกรายชื่อนางยุพา พลายงาม อายุ 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 12 ซ.รังสิต-นครนายก 59 ต.ประชาธิปัตย์อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ผู้โดยสาร เสียชีวิตคาเบาะนั่งโดยสารฝั่งซ้ายข้างประตูทางขึ้น สวมเสื้อสีม่วง กางเกงยืนส์ ส่วนผู้บาดเจ็บอีก 2 ราย คือ นายชัยสิทธิ์ ท้ายเมือง 22 ปี อาการสาหัส และน.ส.กาลสินี เจียนจิตภู่ อายุ 18 ปี ถูกยิงที่แขน เบื้องต้นนำตัวส่งโรงพยาบาลภูมิพล
             สอบสวน นายทองใบ โพธิ์ศรีราช อายุ53 ปี คนขับรถเมล์ ให้การว่า ระหว่างขับรถเมล์คันดังกล่าว มาที่บริเวณเมเจอร์รัชโยธิน ก็ได้รับกลุ่มนักเรียนกลุ่มหนึ่งขึ้นมา และขับมาเรื่อยๆจนกระทั่งรถวิ่งมาถึงหน้าสถานีรถไฟดอนเมือง มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่ยืนรออยู่ที่ป้ายรถเมล์อยู่ก่อนแล้ว ต่างพยายามวิ่งกรูขึ้นมาบนรถ ตนจึงปิดประตูและขับหนีออกมาทันที จนมาถึงป้ายรถเมล์ที่หน้าอาคารช่างการบินไทย ก็มีผู้โดยสารโบกรถตนจึงต้องจอดรับ จังหวะนั้นได้มีนักเรียนจำนวนประมาณ 5-6 คน ที่ยืนรออยู่ก่อนแล้ว และหนึ่งนั้นได้ใช้อาวุธปืนยิงขึ้นมาบนรถจำนวน 1นัด จนทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตดังกล่าว ตนจึงรีบขับรถเข้ามาจอดที่หน้าสน.ดอนเมืองและแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
             ด้าน พล.ต.ต.พิสิฏฐ์ กล่าวว่า เหตุดังกล่าวเป็นการทะเลาะซึ่งหน้า และน่าจะเป็นการลงมือของคู่อริ ซึ่งกลุ่มนักเรียนที่ก่อเหตุอาจใช้วิธีการส่งข้อความทางโทรศัพท์มาหาเพื่อน ว่ามีคู่อริอยู่บนรถเมล์คันดังกล่าว จึงมาดักรอเพื่อก่อเหตุ ทั้งนี้จากการสอบสวนทราบว่า ที่จุดเกิดเหตุมีนักเรียนอยู่ 6 คน ซึ่ง 1ในนั้นได้ใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นแบบไทยประดิษฐ์ยิงขึ้นมาบนรถ ก่อนจะวิ่งแยกย้ายหลบหนีไปซึ่งเบื้องต้นจะทำการตรวจสอบกล้องวงจรปิด และสอบปากคำพยานผู้เห็นเหตุการณ์อย่างละเอียดอีกครั้ง ซึ่งผู้ก่อเหตุไม่น่าเป็นเยาวชนแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะเร่งจับกุมตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเร็วที่สุด

            ดูคลิป นักเรียนนักเลง

               ก่อคดียิงดับ 2 ศพ






สัญญาณที่บ่งบอกได้ว่า...!!!! วัยรุ่นนิยมใช้ความรุนแรงมากขึ้น !!!!


          ล่าสุด เอแบคโพลล์ออกมาเปิดเผยว่า เยาวชนไทยนิยมใช้ความรุนแรงสูงถึง 20 เท่า เหตุจากสารเสพติด เหล้า เบียร์ เกมออนไลน์ และรายการทีวี ซึ่งเป็นที่น่าตกใจ...!!!

            โดย ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า จากผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานการณ์การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน พบว่า เด็กและเยาวชน
       

  แต่พอถามถึงรายการโทรทัศน์ที่ติดตาม กลับพบว่าเป็นละครโทรทัศน์ ถึงร้อยละ 64.3 รองลงมาคือรายการเพลง ร้อยละ 57.9 รายการข่าว ร้อยละ 55.6 รายการเกมโชว์ ร้อยละ 44.5 รายการวาไรตี้ หรือ ทอล์คโชว์ ร้อยละ 40.3 และรายการการ์ตูน ร้อยละ 34.2

   ที่น่าสนใจ...!!! คือ เด็กและเยาวชนเกินครึ่ง หรือร้อยละ 52.2 พบเห็นภาพความรักความอบอุ่นของครอบครัวผ่านรายการโทรทัศน์บ่อยๆ รองลงมาคือ ร้อยละ 40.3 พบเห็นภาพการทำบุญทำทาน กิจกรรมทางศาสนาบ่อยๆ และร้อยละ 39.4 ที่พบเห็นภาพการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมบ่อยๆ

  แต่ที่น่าเป็นห่วง...เมื่อเด็กและเยาวชนถึงร้อยละ 60.8 พบเห็นภาพการใช้อาวุธ เช่น อาวุธปืน มีด ทำร้ายกันบ่อยๆ รองลงมาคือ ร้อยละ 57.5 พบเห็นภาพการต่อสู้ทำร้ายร่างกายกันบ่อยๆ ร้อยละ 51.4 พบเห็นภาพของสงครามและการฆาตกรรม บ่อยๆ ร้อยละ 49.3 พบเห็นภาพการคุกคามทางเพศ บ่อยๆ ร้อยละ 46.5 พบเห็นพฤติกรรมการพูดจาหยาบคาย ด่าทอ โต้เถียงกัน บ่อยๆ และร้อยละ 39.3 พบเห็นภาพการทะเลาะวิวาทของคนในครอบครัว บ่อยๆ

  เมื่อถามถึงกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กและเยาวชนทำเป็นประจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ67.9 ระบุเรียนพิเศษ ส่วนกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 55.0 เล่นเกมคอมพิวเตอร์หรือเกมออนไลน์ประเภทเกมต่อสู้ เช่น ยิงปืน ฟัน เตะ ต่อย ร้อยละ 34.1 ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ ร้อยละ 25.9 เที่ยวกลางคืน เช่น ผับ ดิสโก้ คาราโอเกะ และที่น่าเป็นห่วง คือ เกือบ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 23.7 หนีเรียน ร้อยละ 21.4 เล่นการพนัน ร้อยละ 16.7 เข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนบุกยกพวกตีกัน ร้อยละ 16.7 ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นโดยใช้กำลัง ร้อยละ 13.5 ใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ และร้อยละ 14.1 ทะเลาะกับผู้อื่นโดยใช้อาวุธ



และนั่นเป็นตัวบ่งบอกถึงพฤติกรรมเด็กที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง
           
 ซึ่งหน่วยงานรัฐและผู้ใหญ่ในสังคมที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องรีบเยียวยาปัญหาเหล่านี้ ก่อนที่จะมี เหยื่อบริสุทธิ์ ของพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงจากกลุ่มเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นอีกมากจนยากจะควบคุมสถานการณ์การใช้ความรุนแรงในสังคมไทยได้

เมื่อปัญหาต่างๆ กำลังทวีความรุนแรงและเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เราจะแก้ไขอย่างไรดี? ถึงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด



พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ)  


๑๒  กพ.๒๕๕๒



ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า...

                      ใคร ๆ  ลองหาซื้อเพลงของนักร้องชื่อนี้ไปเปิดให้นักเรียนนักศึกษาพวกนั้นฟังบ่อย ๆ  เขาจะได้มีสติพิจารณาตนเองกันเสียบ้าง....

ถ้าชอบตี
ให้ไปเรียนวิชากระบี่กระบอง
ถ้าชอบแทง
ให้ไปเรียนวิชาฟันดาบฝรั่ง
ถ้าชอบต่อย
ให้ไปเรียนวิชาเป็นนักมวย
ถ้าชอบยิง
ให้ไปสมัครเป็นมือปืนทีมชาติหรือไปเป็นทหารตำรวจ
ถ้าชอบรุม
ให้ไปเป็นนักรักบี้  หรือ  อเมริกันฟุตบอล
ถ้าชอบทำปืนและ ระเบิด
ให้ไปเรียนวิชาผลิตอาวุธกับคลังแสงของทหาร จะได้ลดการซื้ออาวุธจากต่างประเทศ
ถ้าถูกเขาไล่ตีแล้วหนีไม้หนีมีดทัน
ให้ไปเรียนเป็นนักวิ่งทีมชาติ
ถ้าวิ่งตามทันคู่อริ
ให้ไปสมัครแข่งวิ่งผลัด ๔

 วิธีแก้ไขที่เด็ดขาดที่สุดคือ....
นักศึกษาปี ๑-๒  เรียนที่   ราชมงคลอุเทนถวาย

นักศึกษาปี ๒-๔  เรียนที่  เทคโนปทุมวัน

หรืออาจจะสลับกันตามสถานพื้นที่และอาคาร  ก็ได้....

ถ้าเทคโนปทุมวันยังแยกส่วนงานก็กลับมาเป็นราชมงคล  


แล้ว  เบ่งพื้นที่  ๑-๒ เรียนปทุมวัน  


ปี ๓-๔  เรียนอุเทนถวาย  


ความเป็นชนชั้นก็หมดไป เท่านี้ก็สิ้นเรื่อง.




 ....ความรุนแรง ไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของการแก้ปัญหา...



แหล่งที่มา :  



Sec. AD
นางสาว ยุพารัตน์ เจริญผล      551805011
นางสาว มาริษา ก้อนคำ           551805036
                    


วันศุกร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ปัญหาชายแดนไทยกับกัมพูชา


เมื่อวันจันทร์ที่ 18 กรกฎาคม 2554 เวลา 15.00 น. หรือบ่ายสามโมงในเวลาประเทศไทย ตามเวลาท้องถิ่นในกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ เวลา 10.00 น. ศาลโลกในตัดสินคดีเกี่ยวกับทางกัมพูชาได้ยื่นคำร้องให้ตีความคำสั่งศาลระหว่างประเทศเกี่ยวกับการครอบครองปราสาทเขาพระวิหาร  รวมถึงการเรียกร้องให้ผู้พิพากษาอนุมัติมาตรการชั่วคราว หรือสั่งให้ไทยถอนกำลังทหารออกจากพื้นที่ปราสาทเขาพระวิหาร และห้ามทำกิจกรรมทางทหารของไทยทั้งหมดในทันทีในพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรนั้น
ประธานศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ ฮิซาชิ โอวาดะ (ญี่ปุ่น)
นายฮิซาชิ โอวาดะ ประธานศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ได้อ่านคำวินิจฉัยคำร้องดังกล่าว และศาลโลก มีมติเป็นเอกฉันท์ปฏิเสธข้อเสนอของไทยที่ให้มีการจำหน่ายคดีปราสาทพระวิหารออกจากสาระบบ และมีมติ 11 ต่อ 5 ให้ทั้งไทยและกัมพูชา ถอนทหารออกจากพื้นที่รอบปราสาท ซึ่งกินพื้นที่ราว 2 ตารางกิโลเมตร 
เมื่อศาลโลกมีมติดังกล่าว รักษาการนายกรัฐมนตรีของไทยได้ให้สัมภาษณ์ไว้ว่า ทางประเทศไทยก็ยอมรับมติคำสั่งของศาลโลกที่ให้ไทยทอนกำลังทหารออกจากพื้นที่รอบเขาพระวิหาร  แต่จะต้องรอรัฐบาลใหม่เข้ามาบริหารประเทศก่อนที่จะมีการเจรจากับฝ่ายกัมพูชาเกี่ยวกับระยะเวลาในการถอนทหารทั้งสองฝ่าย เป็นอันว่าชาวบ้านที่อาศัยอยู่ตามชายแดนไทยกัมพูชาก็ลดความวิตกกังวลลงไปในระดับหนึ่งที่จะไม่เกิดการสู้รบกันอีก
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ แม้นว่าจะใช้กองกำลังทางทหารสยาม กองทัพเรือเข้าสู้รบกับประเทศฝรั่งเศสแล้วก็ตาม แต่ก็ไม่สามารถทัดทานได้ เพราะประเทศฝรั่งเศสมีอาวุธยุทโธปกรณ์ ที่ทันสมัย และถูกดดันอย่างหนัก จำเป็นตกยอมยกประเทศกัมพูชาให้กับประเทศฝรั่งเศส 
มิฉะนั้น ฝรั่งเศสจะยึดประเทศสยามรวมเข้าไปด้วย พระองค์ทรงพระปรีชาสามารถใช้วิธีการเจราต่อรองระหว่างประเทศ ในที่สุดเราก็เหลือดินแดนของไทยที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ และฝรั่งเศสก็ให้เอกราชกัมพูชา พร้อมๆกับ ลาว และเวียดนาม
ครั้นเมื่อฝรั่งเศสได้กัมพูชาไปแล้ว ซึ่งเดิมได้ทำแผนที่โดยขีดเส้นแบ่งสันปันเขตแดนกัมพูชา-ไทยบนแผนที่ขณะเดียวกันก็มีแผนที่ ใช้แนวเขตสั้นปั้นน้ำเป็นการแบ่งเขตแดนกัมพูชา-ไทย
            สรุป การแบ่งเขตแดนกัมพูชา-ไทย มี ๒ ฉบับ ขณะเดียวกันรอยเขตแดนกัมพูชา-ไทย มีเขาพระวิหารตั้งอยู่ระหว่างรอยต่อดังกล่าว ซึ่งเป็นพื้นที่ทับซ้อนของแผนที่ทั้งสองฉบับ
             พื้นที่เขาพระวิหาร เกิดข้อพิพาทกันระหว่างไทย-กัมพูชา ทั้งสองประเทศตกลงกันไม่ได้ ต้องขึ้นศาลโลกชี้ขาดในยุคของรัฐบาล ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรี ในปี ๒๕๐๕  ปรากฏผล ศาลโลกตัดสินให้เขาพระวิหารเป็นของกัมพูชาไปแล้ว 
            ในยุคสงครามเย็น (Cold War) อิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ อันมีมหาอำนาจคือ ประเทศจีน และประเทศรัสเซีย ไปแผ่ขยายอิทธิพลลงมาในแถบอินโดจีนอีกครั้ง เริ่มตั้งแต่ เวียดนาม ลาว และกัมพูชา พม่า มาเลเซีย ประเทศในแถบนี้ต้องทำสงครามอีกครั้งกับการขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์
            ในขณะเดียวกัน ประเทศมหาอำนาจอีกประเทศหนึ่ง คือ ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นประเทศที่ปกครองในระบอบประชาธิปไตย หรือทุนนิยม ก็เข้ามาคานอำนาจ การขยายอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์     จึงเกิดการต่อสู้กันทางด้านการเมืองที่มีอุดมการณ์ที่แตกต่างกัน
จากวิกฤติการณ์ทางเมืองระหว่างประเทศของกลุ่มมหาอำนาจทั้งสองฝ่าย ที่จะพยายามช่วงชิงกลุ่มประเทศเล็กๆในแถบเอเชีย เข้ามาเป็นพันธมิตรในอุดมการณ์เดียวกันของประเทศมหาอำนาจ
            ประกอบกับในช่วงนั้น ก็ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองของไทย คือ มีการปราบปรามกลุ่มพลังนิสิตนักศึกษาและประชาชน ที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย จากรัฐบาลในยุคของ จอมพลถนอม กิติขจร นิสิต นักศึกษา ประชาชน สู้ไม่ได้ เพราะรัฐบาลใช้กองกำลังทหารเข้าปราบปรามอย่างรุนแรง
ได้หนีเข้าป่าอาศัยอยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนประเทศ พม่า ลาว กัมพูชาและมาเลเซีย กลายเป็นการเสริมให้ ลิทธิคอมมิวนิสต์เข้ามามีบทบาทที่ช่วยเร่งให้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยในยุคนั้น
            ขณะเดียวกันประเทศกัมพูชา ก็ประสบกับวิกฤติทางการเมืองภายในประเทศ เช่น มีการสู้รบ แบ่งกลุ่มแบ่งฝ่าย ต่อสู้ในทางการเมืองภายในประเทศ มีเขมรแดง เขมรสามฝ่าย สู้รบช่วงชิงอำนาจทางการเมือง จนเกิดสงครามกลางเมือง  ซึ่งเป็นการต่อสู้ที่ร้ายแรง มีการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์กันเอง อันมีลัทธิคอมมิวนิสต์เข้ามามีบทบาทเป็นพลังเสริม ในทางการเมืองของประเทศกัมพูชาในขณะนั้น
            ประเทศลาว ก็เช่นกัน ได้เกิดวิกฤตการณ์ทางการเมืองขึ้น ทั้งภายนอกและภายในประเทศ ซึ่งมีผลมาจากอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ที่ขยายอิทธิพลแผ่ลงมาตามแนวคิดของทฤษฎี โดมิโน (หมายถึงประเทศในอินโดจีนหากเวียดนามล้มจะมีผลให้ลาว กัมพูชา ไทย มาเลเซีย สิงคโปร์ ล้มตามไปด้วยตามลักทธิคอมมิวนิสต์)
            ประเทศมาเลเซีย ก็เช่นกัน แต่อยู่ตามแนวตะเข็บชายแดนระหว่างไทยกับมาเลเซีย  ซึ่งมีผลกระทบน้อยมากกับอิทธิพลของลัทธิคอมมิวนิสต์ ที่จะเข้ามาเปลี่ยนแปลงในทางการเมืองการปกครองของมาเลเซีย
            ท้ายที่สุด สงครามเย็นได้ยุติลง โดยการล่มสลายของประเทศรัสเซียเจ้าของลัทธิและอุดมการณ์คอมมิวนิสต์ ขณะเดียวกันประเทศจีนที่นิยมลัทธิและอุดมการณ์ของคอมมิวนิสต์ เห็นว่าหากประเทศตนยังคงใช้ระบบเศรษฐกิจแบบคอมมิวนิสต์ คงจะไปไม่รอดเห็นกับประเทศรัสเซีย จึงได้เปลี่ยนแปลงไปประเทศก้าวสู่การพัฒนาประเทศที่ทันสมัยซึ่งเป็นการก้าวสู่ยุคของทุนนิยม ในยุคของเติ้งเสี่ยงพิง หรือนโยบาย ๔ ทันสมัยของจีนในยุคนั้น
     ในยุคของรัฐบาลพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ได้ใช้นโยบายต่างประเทศ โดยเปลี่ยนจากสนามรบให้เป็นสนามการค้า คือ คบค้าและค้าขายกับประเทศ ที่มีอุดมการณ์เหมือนกันและอุดมการณ์ที่ต่างกันในทางการเมือง
            และประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่พ้นจากยุคการทำสงครามที่ยาวนาน เริ่มปรับเปลี่ยนนโยบายและพัฒนาประเทศก้าวสู่ยุคของการแข่งขันทางการค้า โดยเฉพาะนโยบายต่างประเทศ คือเป็นมิตรกับทุกประเทศ
จากจุดเปลี่ยนประเทศไทยในยุคของรัฐบาลชาติชาย ชุณหะวัน ไทยกับประเทศเพื่อนบ้าน ที่เป็นไม้เบื้อไม้เมา มาอย่างยาวนาน จนเริ่มมีความสัมพันธ์ต่างประเทศที่ดีต่อกัน และกำลังก้าวสู่ยุคใหม่ของการค้าขายร่วมกัน และเป็นยุคของการพัฒนาประเทศไทยก้าวเข้าสู่ยุคของอุตสากรรม โดยให้พื้นที่ชายฝั่งตะวันออกของประเทศไทยที่ติดกับประเทศกัมพูชา อันได้แก่ จังหวัดชลบุรี จันทบุรี ระยอง ตราด เป็นเขตอุตสาหกรรมท่าเรือน้ำลึก หรือ ที่เรียกชื่ออย่างเป็นทางการ ว่า เป็นเขตอีสตันซีบอร์ด
            จากนั้น ประเทศไทย ก็เปลี่ยนรัฐบาลโดยการปฏิวัติ รัฐประหารเงียบบ้าง ไม่เงียบบ้าง ประเทศเข้าสู่ยุค ไม่พัฒนา ไม่ก้าวหน้า เหมือนปิดประเทศ และอยู่ในยุคของบางช่วง บางกลุ่มของกลุ่มอนุรักษ์นิยมที่เข้ามามีบทบาทแฝงทับอยู่บนการเมืองการปกครองในระบอบประชาธิปไตยแม้จะมีประชาธิปไตยอยู่บ้าง แต่ก็กึ่งๆ กลางๆ ประเทศล้มลุก คลุกคลานมาตลอด
             จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๔๐ เรามีรัฐธรรมนูญฉบับที่ชนทุกระดับชั้นในประเทศได้เข้ามามีส่วนร่วมในการร่างรัฐธรรมนูญฉบับดังกล่าว และถือว่าเป็นรัฐธรรมนูญฉบับที่ดีที่สุดและเป็นประชาธิปไตยที่สุด
ท้ายที่สุด ประชาธิปไตยก็เบ่งบานในยุคของรัฐธรรมนูญ พ.ศ.๒๕๔๐ มีการเลือกตั้งที่สมบูรณ์แบบ คนมาใช้สิทธิเลือกตั้งเกินกว่าร้อยละ ๖๐  ซึ่งมีพรรคการเมืองหลายพรรคการเมืองส่งคนลงสมัครสมัครแข่งขันเลือกตั้งทั่วไป ใช้ระบบแบ่งเขตและปาตีลิสต์
             ผลที่สุดได้ พรรคไทยรักไทย ที่ใช้นโยบายหาเสียงดลใจประชาชนทั้งประเทศ ได้คะแนนเสียงข้างมากจัดตั้งรัฐบาล โดยมี พันตำรวจโท ดร.ทักษิณชินวัตร หัวหน้าพรรคไทยรักไทย เป็นนายกรัฐมนตรี และมีพรรคประชาธิปัตย์ เป็นพรรคฝ่ายค้าน
ซึ่งเป็นครั้งแรกที่มีผู้นำประเทศได้เข้ามาเปลี่ยนแปลงประเทศแบบก้าวกระโดด
เพราะหากศึกษาย้อนประวัติศาสตร์ชาติไทย  เราได้มีการเปลี่ยนแปลงประเทศในยุคของการล่าอาณานิคมของชาติตะวันตก คือ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศอังกฤษ เป็นประเทศมหาอำนาจทางตะวันตกที่มีอิทธิพลในแหลมอินโดจีน
            ตรงกับรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงเปลี่ยนแปลงประเทศ โดยการปรับปรุงระบบการปกครองเดิม จัตุสดมภ์ อันได้แก่ เวียง วัง คลัง นา และเลิกระบบทาส ปรับปรุงเปลี่ยนแปลงประเทศ ในทันสมัย เกิดความคล่องตัว ต่อการปกครองและบริหารประเทศในยุคของการล่าอานานิคมของทางตะวันตก และเพื่อเป็นการอยู่รอดของประเทศไทยในขณะนั้น ประเทศจะต้องปรับตัวอย่างขนานใหญ่ จึงได้เกิดเป็น กระทรวง ทบวง กรม มณฑลเทศาภิบาล และกิจการด้านอื่นๆ โดยเป็นการวมศูนย์อำนาจไว้ที่ส่วนกลาง แบ่งมอบอำนาจบางส่วนในการปกครองและกระจายอำนาจลงสู่ท้องถิ่นอย่างเป็นระบบ

            หลังจากนั้นมา ๑๐๐ กว่าปีเศษจนถึงปัจจุบัน ระบบโลกได้เปลี่ยนไป แต่ประเทศเรายังไม่พัฒนาให้สอดคล้องทันกับการเปลี่ยนแปลงของระบบโลกที่เปลี่ยนจากยุคของอุตสาหกรรมเข้าสู่ยุคของโลกทุนนิยมที่มีระบบการแข่งขันอย่างเสรี และก้าวสู่ไปยุคของโลกาภิวัตน์ (Golbolization) อันมีการสื่อสารที่ไร้พรมแดน ด้วยระบบอิเลคทรอนิกส์ สมัยใหม่ ซึ่งเข้ามามีบทบาทในการเปลี่ยนแปลงจากระบบโลกเดิม ซึ่งเป็นยุคของอุตสาหกรรม
ในยุคของพันตำรวจโทดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีคนที่๒๓ ของประเทศ ได้เปลี่ยนแปลงประเทศครั้งใหญ่ ทั้งนโยบายภายในประเทศและนโยบายต่างประเทศ เป็นนโยบายที่เปิดประเทศต้อนรับการลงทุนจากต่างประเทศ เป็นมิตรและค้าขายกับทุกประเทศ ให้การช่วยเหลือเกื้อกูลซึ่งกันและกัน กับประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเปลี่ยนจากสนามรบ ให้เป็นสนามการค้า
ตลอดจนถึงการฟื้นฟูความสัมพันธ์ระหว่างประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไปทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น ยุโรป อเมริกา อัฟริกา อเมริกาใต้ ออสเตรเลีย และผูกมิตรกับประเทศมหาอำนาจ เช่น ประเทศ จีน รัสเซีย อินเดีย อเมริกา ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย เป็นต้น

ประการสำคัญ คือ การได้รับการยอมรับจากผู้นำในกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ให้เป็นผู้นำในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในการขับเคลื่อนเชิงนโยบายด้านเศรษฐกิจ การวมกลุ่มประเทศเล็กๆในอาเซียน เป็นหนึ่งเดียว สร้างอำนาจการต่อรองกับประเทศมหาอำนาจในทางเศรษฐกิจและการเมือง

            ตลอดจนถึงการตั้งกลุ่มประเทศ APEC เพิ่มขึ้นมา เพื่อเป็นการรวมกลุ่มประเทศเล็กๆกับประเทศมหาอำนาจเพื่อการค้าขาย และเพื่อสร้างอำนาจการต่อรองจากประเทศเล็กๆกับประเทศมหาอำนาจ ในด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
            ดังจะเห็นได้ว่า ในช่วงระยะเวลา ๖ ปี ของการพัฒนาประเทศไทยระหว่าง ปีพ.ศ.๒๕๔๓-๒๕๔๙ รัฐบาลของพันตำรวจโทดร.ทักษิณ ชินวัตร ประเทศมีการเปลี่ยนแปลงไปแบบก้าวกระโดด มีการปฎิรูปการเมือง มีการปฏิรูประบบราชการ มีการปฏิรูประบบเศรษฐกิจทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ประเทศไทยกำลังเดินไปข้างอย่างทันเวลาของการเปลี่ยนแปลงของระบบโลกใหม่ ทั้งในประเทศและในสายตาของคนต่างประเทศ ที่มองประเทศไทยเป็นประเทศที่น่าลงทุน เป็นประเทศที่น่าท่องเที่ยว และมองว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตย เพราะผู้นำประเทศมาจากการเลือกตั้งของประชาชนด้วยคะแนนเสียงท่วมท้น และได้จัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากในรัฐสภา จึงมีเสถียรภาพในทางการเมือง การพัฒนาประเทศจึงเป็นไปในทางเดียวกัน
สิ่งเหล่านี้เป็นปัจจัยหลักของอารยธรรมทางตะวันตกที่ยอมรับประเทศที่เป็นประชาธิปไตย ไม่เป็นสังคมรัฐที่ป่าเถื่อน ไร้อารยธรรมทางการเมือง เหมือนกับประเทศด้อยพัฒนาหรือกำลังพัฒนา นี่คือจุดเด่นของการเมืองไทยในยุคนั้น
ประเทศไทย ณ เวลานั้นจึงเป็นจุดดึงดูดในประเทศทางตะวันตก เริ่มหันมามองการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยและประเทศในกลุ่มเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นมิติใหม่ของการเมืองระหว่างประเทศที่ประเทศเล็กๆรวมตัวกันได้อย่างเหนียวแน่น เริ่มส่อเค้าว่าในอนาคตจะมีอำนาจในการต่อรองในทางการเมืองและเศรษฐกิจกับประเทศมหาอำนาจ

            ขณะเดียวกัน ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศกับเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะประเทศกับประเทศกัมพูชามีความสัมพันธ์ที่แนบแน่น เป้าหมายหลักคือต่างฝ่าย ต่างก็คำนึงถึงผลประโยชน์ของชาติตนเป็นหลักเป็นจุดดุลภาพ ที่ต่างฝ่ายต่างมีความพึงพอใจของการพัฒนาประเทศร่วมกัน ปัญหาชายแดนระหว่างประเทศตลอดแนวระหว่างไทยกับกัมพูชา ปัญหาเรื่องเขาพระวิหาร เป็นเรื่องของการประนีประนอมอยู่ร่วมกันและใช้ประโยชน์ร่วมกันในพื้นทับซ้อนดังกล่าว
อีกทั้งปัญหาระหว่างประเทศกับเพื่อนบ้านข้างเคียง เช่น พม่า ลาว มาเลเซีย ก็ไม่มี เพราะการสร้างมิตรภาพกับประเทศเพื่อนบ้านส่งเสริมการค้าขาย การลงทุนร่วมกัน ให้ความช่วยเหลือซึ่งกันและกัน
จึงถือได้ว่าเป็นยุคของช่วงขาขึ้นของประเทศไทย มองไปข้างหน้า ทุกอย่างกำลังเดินไปด้วยดี ทั้งในประเทศและต่างประเทศในการตอบรับดีมาก เป็นสัญญาณที่อะไรก็ดีไปหมด

             และแล้ว สึกนามิการเมืองก็เริ่มตั้งเค้าและเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมืองของไทยขึ้น เป็นเหตุการณ์ที่เราบุคคลธรรมดา ชาวไร่ ชาวนา ตาสี ตาสา หรือกลุ่มคนอื่นในสังคมไทย ไม่คาดคิดมาก่อนว่า จะเกิดเหตุการณ์นี้ขึ้นมาอีก

  สำหรับประเทศไทยที่มีการพัฒนาการเมืองการปกครอง และได้ต่อสู้กันมา ตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๕ จนถึงปัจจุบัน เป็นระยะเวลาที่ยาวนาน ถึง ๗๐ กว่าปี  โดยวันที่ ๑๙ กันยาน ๒๕๔๙   พลเอก สนธิ บุญกลิน ผู้บัญชาการทหารบก ทำการปฏิวัติ รัฐบาลของพันตำรวจโท ดร.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งประเทศ

              ในขณะที่พันตำรวจโทดร.ทักษิณ ชินวัตร ปฏิบัติหน้าที่ในองค์การสหประชาชาติ โดยกำลังจะกล่าวสุนทรพจน์ ในการประชุมขององค์การสหประชาชาติ
นั่นคือ การสิ้นสุดของการปฏิบัติหน้าที่ในฐานะนายกรัฐมนตรีไทย  ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชนทั้งประเทศ โดยถูกเปลี่ยนแปลงอำนาจอธิปไตยของปวงชนชาวไทย โดยการปฏิวัติของคณะผู้นำนายทหารทุกเหล่าทัพและตำรวจ หรือกลุ่มผู้มีอำนาจเพียงไม่กี่คน
               
แหละนี่คือ จุดเปลี่ยนแปลงประเทศที่ถอยหลังกลับเข้าสู่ยุคการเมืองแบบประชาธิปไตย ครึ่งๆ กลางๆ เหมือนกับ ที่ผ่านมาและแฝงทับซ้อนอยู่บนกลุ่มฐานอำนาจที่มีพลังในการควบคุมประเทศทั้งระบบ โดยแต่งตั้งพลเอกสุรยุทธ์ จุลลานนท์ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรี ในยุคของ คมช.
                                          
   และที่สำคัญก็คือ ได้ยกเลิกรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.๒๕๔๐ อันเป็นผลประโยชน์ของประชาชนทั้งประเทศทั้งฉบับ และประกาศใช้รัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. ๒๕๕๐ แทนฉบับเดิม ซึ่งเป็นรัฐธรรมนูญที่ยกร่างขึ้นมาจากกลุ่มของผู้มีอำนาจดั้งเดิม
              จึงกลายเป็นรัฐธรรมนูญ ฉบับที่ไม่เป็นประชาธิปไตยและผลประโยชน์แทนที่จะไปตกอยู่ที่คนส่วนใหญ่  กลับกลายเป็นตกอยู่ในกลุ่มคนส่วนน้อยที่เข้ามาบริหาร หรือ มีบทบาทในการควบคุมประเทศ
 อีกทั้งเป็นกับดักทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลชุดไหนก็ตาม เมื่อขึ้นมาบริหารประเทศ จะเป็นไปด้วยความยากลำบาก เพราะมีปัญหาการบริหารทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ

            จากนโยบายของรัฐบาลภายใต้การนำของนายอภิสิทธิ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรีและมีนายกษิต ภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ในเรื่องของความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ ไม่ค่อยจะเป็นมิตรกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะประเทศเพื่อนบ้าน คือ ประเทศกัมพูชา
อย่างเช่น กรณี ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์กับกลุ่มคนของพันธมิตรประชาธิปไตยจงใจที่จะลุกล้ำประเทศเพื่อนบ้าน และถูกจับไปกักขังยังประเทศกัมพูชาในข้อหาเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย จนเกิดปัญหาในด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชา หรือ

            กรณี พิพาท เรื่องดินแดนเขาพระวิหาร  กรณีการปะทะและสู้รบตามชายแดนระหว่างทหารไทยกับทหารเขมรด้านจังหวัดสุรินทร์ เป็นต้น
ผลเสีย จากนโยบายต่างประเทศที่ผิดพลาด ระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดน ไทยต้องเสียรายได้จากการค้าชายตามแนวชายดังกล่าวไปหลายแสนล้านบาท ซึ่งไม่คุ้มค่ากับการที่ใช้นโยบายแข็งกร้าวและท่าทายประเทศกัมพูชาซึ่งเป็นประเทศที่เล็กกว่า และมีพลเมืองน้อยกว่าประเทศไทย ตลอดจนอาวุธยุโทปกรณ์ก็มีประสิทธิภาพทางด้านการทหารน้อยกว่าไทย

ในสายตาของต่างประเทศ ไม่ว่าจะเป็นประเทศมหาอำนาจ อย่างเช่น จีน รัสเซีย อินเดีย ตลอดจนถึงประเทศเพื่อบ้านในกลุ่มอาเซียนด้วยกัน  มองประเทศไทยว่ารังแกประเทศที่เล็กกว่า และเป็นประเทศถูกลดอันดับความน่าเชื่อถือ ไปอยู่ประเทศท้ายๆของกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
จากการที่เคยเป็นประเทศที่ขึ้นมาอยู่ในอันดับหนึ่งและเป็นแนวหน้าในการเป็นหัวหอกในการขับเคลื่อนกลุ่มประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ การเมืองระหว่างประเทศ


            ในที่สุด การค้าการลงทุนจากต่างชาติ ตลอดจนถึงการท่องเที่ยว  ได้เปลี่ยนฐานการลงทุน การท่องเที่ยว ไปยังประเทศที่มีความมั่นคงในทางการเมืองทั้งภายในและต่างประเทศ อย่างเช่น ประเทศเวียดนาม ซึ่งเป็นประเทศที่น่าลงทุนและน่าท่องเที่ยวมาก ที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในขณะนี้

 



   
                 เราเสียมิตรประเทศไปอย่างน่าเสียดายโอกาสที่ไม่น่าจะเสีย กับการดำเนินนโยบายด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศของไทย ภายใต้รัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะนายกรัฐมนตรี ทีผิดพลาดแบบซ้ำซาก จนต่างประเทศเริ่มถอยห่างประเทศไทย จากมิตรที่สนิท กลายเป็นมิตรที่เริ่มจางจากความสัมพันธ์อันดีงามที่มีต่อกัน


ณ เวลานี้ ต้องรอผลการเลือกตั้งทั่วไปในวันอาทิตย์ที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔ ว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศไทย จะเลือกพรรคการเมืองไหนที่มีเสียงข้างมากเข้ามาจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ถ้าเลือกพรรคประชาธิปัตย์ต้องดูว่ามีนโยบายที่ชัดเจนด้านความสัมพันธ์ระหว่างประเทศไปในทิศทางใด
                 หากเราศึกษาในเวทีการเมืองระหว่างประเทศย้อนหลังไปในยุคของสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ซึ่งเป็นยุคของการล่าเมืองของจักรวรรดินิยมทางตะวันตก โดยมีฝรั่งเศสและอังกฤษที่เข้ามามีบทบาทและมีอิทธิพลต่อความอยู่รอดของชาติ
พระองค์ได้ทรงใช้เวทีการทางการเมืองระหว่างประเทศ ในการสร้างมิตรกับประเทศรัสเซีย ประเทศอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศส จนรอดพ้นจากการเสียเอกราชให้กับประเทศมหาอำนาจในยุคนั้น มาจนถึงทุกวันนี้
ประเทศกัมพูชาก็เช่นกัน มีพื้นที่ติดกันทั้งคนไทยและกัมพูชาไปมาหาสู่กัน ดุจญาติพี่น้อง ครั้นเกิดมีวิกฤตการณ์ทางการเมืองในประเทศใดประเทศหนึ่งบางช่วง บางจังหวะของเวลาขึ้น  บางครั้งนักการเมืองกัมพูชาก็เคยหลบหนีภัยการเมืองเข้ามาอยู่ในประเทศไทย และบางครั้งนักการเมืองไทยได้ใช้ประเทศกัมพูชาเป็นเส้นทางที่หลบหนีคดีการเมือง อย่างเช่น จอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นต้น
การเมืองการปกครองของไทยในยุคปัจจุบัน ควรจะมีการศึกษาประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาเป็นแบบอย่างในการที่จะนำพาประเทศไปสู่ความสงบ สันติสุข ควรที่จะต้องปรับนวัตกรรมทางความคิดในการปกครองและบริหารประเทศ  เปิดโลกทรรศน์ให้กว้างขึ้น มีใจที่มีเมตตาต่อกัน ไม่คิดที่จะเบียดเบียน ป้องร้ายซึ่งกันและกัน ทั้งในประเทศและระหว่างประเทศ หาจุดลงตัวที่ทุกฝ่ายยอมรับกันได้
นั่นคือ จุดเปลี่ยนประเทศ ณ เวลานี้ และเป็นการสร้างอนาคต เพื่อเป็นสังคมรัฐที่เจริญแล้วบนสายตานานาชาติ



     ในทรรศนะของผู้เขียน ทางแก้จุดวิกฤติของประเทศ ณ เวลานี้ คือ
๑.    รัฐบาลและผู้มีอำนาจทั้งในและนอกระบบ ควรปล่อยทุกอย่างให้เป็นไปตามกระบวนการเลือกตั้งในระบอบประชาธิปไต และยอมรับผลการเลือกตั้งทั่วในครั้งนี้ ไม่ควรมีอำนาจอื่นมาล้มระบบการเลือกตั้งทั่วไปที่จะเกิดขึ้นในวันที่ ๓ กรกฎาคม ๒๕๕๔
๒.  พรรคการเมืองใดได้รับการเลือกตั้งทั่วไปและได้เสียงข้างมากก็ควรได้จัดตั้งรัฐบาล พรรคใดได้เสียงข้างน้อย ก็ควรยอมรับเป็นพรรคฝ่ายค้าน จากการตัดสินใจของคนไทยทั่วประเทศ
๓.     สิ่งแรกที่รัฐบาลจะต้องทำ คือการสร้างความปรองดองให้เกิดขึ้นภายในชาติ สิ่งไหนที่จะประนีประนอมกันได้ หรือยอมกันได้ ก็ควรยอมกัน ถอยกันคนละก้าว เพื่อที่จะเดินไปข้างหน้าด้วยกัน สิ่งไหนที่จะต้องใช้มาตรการเยียวยา ก็ใช้วิธีเยียวยากันไป
๔.     สิ่งที่สอง ดำเนินการตามนโยบายภายในประเทศที่ให้ไว้กับประชาชน และปรับกลยุทธ์ในนโยบายต่างประเทศใหม่ เพื่อสร้างความสัมพันธ์ระหว่างประเทศที่ดีต่อกัน
๕.     ทุกฝ่าย ควรเปิดใจกว้างยอมรับการเปลี่ยนแปลงประเทศบนพื้นฐานของสังคมไทยที่เคยเอื้ออาทร การให้อภัย ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และ
        ควรนึกถึงหลักธรรมคำสอนของพระพุทธองค์ให้มีความเมตตาต่อกัน ไม่คิดที่จะเบียดเบียนกัน สิ่งเหล่านี้หากมองย้อนกลับหลังไป หายไปไหนหมดจากจิตใจ ถึงเวลาแล้วที่จะต้องหันหน้าเข้าหากันยุติปัญหาการขัดแย้งภายในชาติที่เกิดขึ้นมาอย่างยาวนาน  เราเสียโอกาสทางเศรษฐกิจมามากมาแล้ว ที่ผ่านมาเราน่าจะไปได้ดีกว่านี้  

      สรุปของบริบท ก็คือ อะไรที่ผ่านมาทั้งที่มีเจตนาหรือไม่มีเจตนาที่กระทำต่อกันมา ขอให้เลิกแล้วต่อกัน หันมาตั้งหนึ่งหรือนับหนึ่งกันใหม่  ยังไม่สายที่จะเริ่มต้นขับเคลื่อนประเทศกันใหม่   แล้วอะไรๆ ก็จะดี ตามมาในบั้นปลายของประเทศไทย คือ "สังคมรัฐแห่งสันติสุข"
Sec. AD
นางสาว ยุพารัตน์ เจริญผล     551805011
นางสาว มาริษา ก้อนคำ           551805036


ขอบคุณแหล่งที่มา: http://www.gotoknow.org/blogs/posts/450075