วันศุกร์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2555

กระบวนการทางธุกิจ




นวัตกรรมคือส่วนสำคัญของกระบวนการทางธุรกิจ 

(Innovation as a Core Business Process)

           
นวัตกรรมที่เปรียบเสมือนหัวใจของกระบวนการทางธุรกิจ ที่แสดงถึงความคิดริเริ่มประกอบกับการนำความคิดริเริ่มเหล่านั้น มาใช้ให้เกิดประโยชน์ ซึ่งกระบวนการทางนวัตกรรมนี้เอง จะเป็นส่วนสำคัญที่ทำให้องค์กรสามารถดำรงอยู่และเจริญเติบโตต่อไปได้ ซึ่งในบทความนี้จะแสดงให้เห็นว่า กระบวนการดังกล่าวยังมีส่วนประกอบที่สำคัญต่างๆอีกหลายประการเช่น






• การค้นหา (Searching)
           เป็นการสำรวจสภาพแวดล้อมต่างๆ ทั้งภายในและภายนอก เพื่อตรวจจับสัญญาณของทั้งโอกาส และอุปสรรค สำหรับการนำไปสู่จุดเริ่มต้นการเปลี่ยนแปลงในอนาคต

• การเลือกสรร (Selecting)
           เป็นการตัดสินใจเลือก สัญญาณที่สำรวจพบเหล่านั้น เพื่อจะนำไปประยุกต์ใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับองค์กร ทั้งนี้การเลือกสรรจำเป็นต้องมีความสอดคล้องกับหลักกลยุทธ์ขององค์กรด้วย

• การนำไปปฏิบัติ (Implementing)
           เป็นการแปลงสัญญาณที่มีศักยภาพ ไปสู่การสร้างสรรค์สิ่งใหม่ๆ ขึ้นและนำสิ่งเหล่านั้นออกเผยแพร่สู่ตลาดทั้งภายในและภายนอกองค์กร แต่การแปลงสัญญาณที่ว่า ไม่ได้เกิดขึ้นเพียงชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น หากแต่จะเกิดขึ้น ด้วยผลของการดำเนินขั้นตอนที่สำคัญอีก 4 ประการดังต่อไปนี้

          
 1. การรับ (Acquiring)
             
คือขั้นตอนของการนำองค์ความรู้ต่างๆมาประยุกต์ใช้ให้เกิดเป็นนวัตกรรมขึ้น ยกตัวอย่างเช่น การสร้างสรรค์สิ่งใหม่จากกระบวนการทางการวิจัยและพัฒนา (R&D), การทำวิจัยทางการตลาด (Market Research) รวมไปถึง การได้รับองค์ความรู้จากแหล่งอื่นๆ โดยการถ่ายทอดทางเทคโนโลยี (Technology Transfer) หรือการค้นคว้าร่วมกันในเครือพันธมิตร (Strategic Alliance) เป็นต้น

         
  2. การปฏิบัติ (Executing)
             
คือขั้นตอนของการนำโครงการดังกล่าวปฏิบัติงาน ภายใต้สภาพของความไม่แน่นอนต่างๆ ซึ่งต้องอาศัยทักษะของการแก้ไขปัญหา (Problem – Solving) ตลอดเวลา

          
 3. การนำเสนอ (Launching)
              คือการนำนวัตกรรมที่ได้ออกสู่ตลาด โดยอาศัยการจัดการอย่างเป็นระบบเพื่อให้นวัตกรรมนั้นสามารถเป็นที่ยอมรับจากตลาดได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงแรกของการนำออกสู่ตลาด

          
 4. การรักษาสภาพ (Sustaining)
             
คือการรักษาสถานะภาพการยอมรับจากตลาด ให้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องต่อไปและคงอยู่ให้นานเท่าที่จะเป็นไปได้ ในขณะเดียวกันอาจต้องนำนวัตกรรมนั้นๆกลับมาทำการการปรับปรุง แก้ไขในแนวความคิดหรือทำการเริ่มใหม่ตั้งแต่ต้น (Reinnovation) เพื่อให้ได้นวัตกรรมที่ถูกพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับความต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น

• การเรียนรู้ (Learning)
           เป็นสิ่งจำเป็นที่องค์กรควรที่จะศึกษา และเรียนรู้ ในขั้นตอนต่างๆของกระบวนการทางนวัตกรรมเพื่อก่อให้เกิดเป็นองค์ความรู้พื้นฐานที่แข็งแกร่ง และสามารถนำไปใช้พัฒนาวิธีการสำหรับจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรมเหล่านั้นให้มีประสิทธิภาพที่ดียิ่งขึ้น
           สิ่งท้าทายอย่างหนึ่งที่องค์กรต่างต้องเผชิญคือ การพยายามค้นหาวิธีการที่จะจัดการกับกระบวนการทางนวัตกรรม เพื่อให้เกิดผลลัพธ์ที่ดีที่สุด แต่ด้วยสถานการณ์ของการนำไปใช้แก้ปัญหานั้นมีความแตกต่างกัน จึงทำให้วิธีการจัดการมีความแตกต่างกันออกไปด้วย ยกตัวอย่างเช่น องค์กรขนาดใหญ่ ที่มีความรู้พื้นฐานทางวิทยาศาสตร์เป็นอย่างดี เช่น บริษัทด้านเภสัชกรรม ต่างๆ มักจะมีวิธีที่ใช้สำหรับค้นคว้าหาผลลัพธ์ จากกระบวนการการวิจัยและพัฒนา (R&D) ของตนเองเป็นหลัก หรือ ในบางครั้งอาจใช้วิธีการสรรหา สิทธิบัตรที่ตนเองต้องการด้วยก็ได้ ในขณะที่ หน่วยงานทางวิศวกรรกรรมขนาดเล็กๆ เช่นผู้รับเหมา มักจะให้ความสนใจกับวิธีการสัมฤทธิ์ผลเร็วที่สุด เป็นต้น นอกจากนี้ บรรดาผู้ค้าปลีกทั้งหลาย ซึ่งมักจะไม่ค่อยให้ความสำคัญกับการทำการวิจัยและพัฒนามากนัก มักจะเน้นหนักไปที่การสำรวจจากสภาพแวดล้อมต่างๆ เพื่อหาแนวโน้มของความต้องการของลูกค้า  ทำให้พวกเขาต้องเน้นวิธีการดำเนินงานด้วยวิธีทางการตลาด (Marketing) ค่อนข้างมาก  ผู้ผลิตสินค้าอุปโภค บริโภค (Consumer Goods Producer) ก็เช่นกัน เขาต้องมุ่งเน้นไปที่การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ เพื่อนำออกสู่ตลาด ที่มีความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา, องค์กรทางวิศวกรรมขนาดใหญ่ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อสร้างหรือกระบวนการผลิต เช่น การก่อสร้างโรงไฟฟ้า มักจะให้ความสำคัญกับเรื่องของการออกแบบเป็นลำดับต้นๆ และจะเน้นหนักไปที่ การจัดการโครงการ และการผสมผสานงานจากหน่วยปฏิบัติการย่อยต่างๆให้เข้ากันอย่างเป็นระบบ หรือแม้แต่ หน่วยงานภาครัฐเองที่ต้องให้ความสำคัญกับกฏระเบียบทางสังคมและการเมืองเป็นลำดับแรกๆ เป็นต้น
          
ถึงแม้ว่าธุรกิจหรือองค์กรจะมีลักษณะที่แตกต่างกันเพียงไร แต่รูปแบบของกระบวนการทางนวัตกรรมในแต่ละขั้นนั้น ก็ยังคงไม่มีการเปลี่ยนแปลง 
           การจัดการทางนวัตกรรมในมุมมองทั่วไป ก็เปรียบเสมือน ความสามารถในการเรียนรู้ (Learn Capability) ที่แต่ละองค์กรควรต้องกระทำอย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะให้ได้วิธีการและผลลัพธ์ที่สอดคล้องกับความต้องการของตนเองมากที่สุด ไม่ได้เป็นแค่เพียงการลอกเลียนมาจากแหล่งหนึ่งแหล่งใด แล้วนำมาใช้โดยตรงเลยเท่านั้น แต่จำเป็นที่จะต้องรู้จักนำมาปรับปรุง เปลี่ยนแปลง และประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับแต่ละสถานการณ์ขององค์กรให้ได้มากที่สุดอีกด้วย 



                      สมาชิกกลุ่ม

นางสาว ยุพารัตน์        เจริญผล          
551805011
นางสาว วารุณี            ศรีจันทร์ตา       551805018 
นางสาว ทิพวรรณ       สิงห์จัน            551805027
นางสาว ลักษณ์พิรา    ทาแก้ว            551805031
นางสาว มาริษา           ก้อนคำ            551805036

วันจันทร์ที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

อภิปลายการแก้ไขโดยใช้แนวทางความสามารถขององค์กร

                                                                   

                     

 กลุ่ม สอง

         อภิปลายการแก้ไขโดยใช้แนวทางความสามารถขององค์กร


                                                         

 " ปลาเล็กกินปลาใหญ่ "




1.  รีดเลือดกับปู    กล่าวถึงการวิจัยของบริษัทโฆษณายักษ์ใหญ่แห่งหนึ่ง ต่อบริษัทลูกค้ารายใหญ่ ๆเพื่อ
ค้นหาสิ่งที่พวกเขาคาดว่าจะเกิดขึ้นอีก 5 ปีข้างหน้าซึ่งผลการวิจัยปรากฏว่าปัญหาที่สำคัญที่สุดคือการที่พวกเขาต้องเอาชนะปัญหาทางการตลาดรูปแบบใหม่ ๆ คือเพราะเมื่อมีสินค้ายี่ห้อใหม่ๆเข้าสู่ตลาดจนล้น  เจ้าของสินค้าจะต้องหาทางเพิ่มความต้องการของตลาดเพื่อรักษายอดขายตัวเองโดยการแย่งชิงส่วนแบ่งจากคู่แข่งที่เป็นยี่ห้อดังด้วยกันเองและกดหัวรายรอง ๆมา เหมือนกับปลาใหญ่กินปลาเล็ก และปลาใหญ่บางตัวจะพยายามแย่งที่ทำมาหากินของปลาใหญ่ด้วยกันเองอีก สิ่งที่จะตามมาคือผู้ค้าปลีกรายย่อยจะกลับมามีบทบาทมากขึ้นอีกครั้งเพราะปลาใหญ่ต้องพยายามเพิ่มยอดขายโดยการจำหน่ายภายใต้เครือข่ายของตัวเองให้มากขึ้น



 2.  ผู้บริโภคเดี๋ยวนี้ไม่เหมือนเดิม   เนื่องจากผู้บริโภคสมัยนี้เหนื่อยล้ามาจากการงานจึงเบื่อหน่ายสื่อโฆษณาแบบเดิมๆที่นักการตลาดเสนอให้  การต่อสู้กับธุรกิจในโลกยุคใหม่ไม่ใช่การต่อสู้กับโฆษณาที่มาจากคู่แข่งของเราเท่านั้นแต่เป็นการต่อสู้กับโฆษณาในทุกๆรูปแบบ ความคิดของนักการตลาดต้องท้าทายและกระตุ้นให้ผู้บริโภคจินตนาการถึง


3.  อะไรที่เรียกว่ายี่ห้อผู้ท้าชิง   ผู้เขียนเรียกยี่ห้อที่ขายดีเป็นอันดับ 2 และมีอัตราการเติบโตรวดเร็วแบบติดจรวด ว่าผู้ท้าชิง   ในหนังสือเล่มนี้ผู้เขียนได้คัดเลือกยี่ห้อผู้ท้าชิงในธุรกิจหลากหลายที่น่าสนใจเพราะเห็นว่าการศึกษาความสำเร็จจากผู้ท้าชิงในธุรกิจอื่นๆที่ไม่ได้อยู่ในวงการเดียวกับเราจะเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับเราได้มาก
กลยุทธ์สู่ความสำเร็จ 8 ประการ ที่ผู้เขียนกล่าวถึงนี้ เป็นการตั้งข้อสังเกตถึงตรายี่ห้อผู้ท้าชิงที่ผู้เขียนนำมาสร้างเป็นขั้นตอนเพื่อใช้การดำเนินกลยุทธ์ของสินค้าของเรา









      

   กลยุทธ์ที่ 1. ลืมอดีตให้หมด เมื่อย้อนไปดูรายชื่อยี่ห้อผู้ท้าชิงที่ประสบความสำเร็จในการแย่งชิงตลาดมาได้จะพบว่าคนเหล่านี้ไม่เคยมีประสบการณ์ในธุรกิจที่พวกเขาก้าวเข้าไปแม้แต่น้อย ซึ่งเป็นการดีเพราะจะทำให้มีโอกาสมองเห็นอะไรใหม่ ๆ ในขณะที่คนอยู่ในธุรกิจอยู่แล้วอาจไม่เคยนึกถึงมาก่อน  การที่ให้ลืมอดีตให้หมดคือ เราต้องเตรียมความรู้สึกนึกคิดให้พร้อมสำหรับสิ่งใหม่ๆ ซึ่งไม่เว้นแม้แต่คนที่เคยทำธุรกิจนี้มาก่อน เป็นการทำจิตใจให้ว่าง เพื่อจะได้มุ่งไปที่การตั้งคำถามและหาคำตอบใหม่ ๆที่ยังไม่เคยนึกถึง  ผู้เขียนกล่าวว่าเราต้องค้นหา “ปลาใหญ่” ซึ่งจริงๆแล้วในที่นี้หมายถึงปัญหาของเราที่ต้องค้นหา (ไม่ใช่คู่แข่งคนสำคัญของเรา) และ ต้องว่ายทวนน้ำเพื่อค้นหา โดยต้องกล้าคิดที่จะทำอะไรที่แตกต่างจากผู้อื่น เช่น Swatch กล้าที่จะทำนาฬิกาแฟชั่นสีสันฉูดฉาดซึ่งต่างจากนาฬิกาสวิสอื่นๆที่เที่ยงตรง ภูมิฐาน ราคาแพง   ผู้ท้าชิงต้องต้องเลิกให้ความ สำคัญกับกลยุทธ์ทางการตลาดที่มีอยู่เดิมทั้งหมด


        กลยุทธ์ที่ 2.  สร้างแสงสว่างให้ตัวเอง  จะต้องพยายามดึงผู้บริโภคให้เดินตามความคิดของเรา โดยพยายามสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่ไม่เหมือนใครบนพื้นฐานของคุณภาพสินค้า และ ความเชื่อมั่นในผลงาน  ซึ่งคุณลักษณะที่สำคัญของยี่ห้อผู้ท้าชิง มีอยู่ 4 ประการ (1) เอกลักษณ์ที่สะท้อนถึงยี่ห้อว่าเป็นอย่างไร อยู่ตรงไหนของตลาด เช่น รถยนต์ Lexus สร้างภาพลักษณ์จากความเป็นจริง  (2) สร้างความรู้สึกผูกพันทางใจกับยี่ห้อนั้น โดยเริ่มจากกระตุ้นลูกทีมก่อน (3) ฉวยโอกาสในการแนะนำตัวทุกครั้งที่มี (4) ต้องมีความโดดเด่น สะดุดตา แม้ผู้บริโภคไม่ได้ตั้งใจหาซื้อสินค้านั้น 

        กลยุทธ์ที่ 3. ทำตัวเป็นผู้นำทางความคิด คือเป็นยี่ห้อที่กำลังได้รับความสนใจมากที่สุด พยายามแสวงหาสิ่งแปลกใหม่ที่ไม่เหมือนใคร สามารถฝ่าฝืนธรรมเนียมต่าง ๆ ที่ปฏิบัติมาเป็นสูตรสำเร็จแต่ไม่ใช่ว่าจะฝ่าฝืนไปทุกเรื่อง  การวัดความสำเร็จในการเป็นผู้นำทางความคิดนั้นจะวัดจากความสัมพันธ์ระหว่างยี่ห้อกับผู้บริโภค ไม่ใช่ผลสำเร็จในช่วงเริ่มต้นเพราะในระยะแรกคนอาจชอบ หรือไม่ชอบก็ได้

        กลยุทธ์ที่ 4.  สร้างสัญลักษณ์ขึ้นมาเพื่อเพิ่มคุณค่า เป็นการสร้างความรู้สึกให้เกิดกับผู้บริโภคได้โดยไม่ต้องใช้คำพูดอะไรมากมาย เช่น คนเห็นMichael Jordan ก็คิดถึง Nike   สัญลักษณ์จะเป็นตัวที่ส่งสัญญาณให้ผู้บริโภคเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจน และทำให้คนในองค์กรปรับเปลี่ยนวิธีคิดใหม่ เพื่อให้ทุกคนก้าวไปในทิศทางเดียวกัน

        กลยุทธ์ที่ 5.  การเสียสละ บางครั้งยี่ห้อที่เป็นผู้ท้าชิงก็ต้องยอมเสียสละบางอย่างเพื่อแลกกับเอกลักษณ์ของยี่ห้อ และความสัมพันธ์ของผู้บริโภคให้กลับคืนมา การเสียสละยังมีส่วนที่ทำให้ผู้ท้าชิงต้องทำอะไรที่เกินกว่าระดับปกติที่คนทั่วๆไปทำ

         กลยุทธ์ที่ 6. ทำให้มากกว่าปกติ (overcommit) คือการที่ผู้บริหารและพนักงานในองค์กรของยี่ห้อที่เป็นผู้ท้าชิงต่างต้องร่วมมือกันทุ่มเทและทำให้ผู้บริโภคเห็นถึงความแตกต่างจากผู้อื่น และยิ่งเป็นผู้นำยิ่งต้องทุ่มเทความพยายามให้มากกว่าลูกน้อง และต้องถ่ายทอดความคิดนี้ไปยังลูกน้องที่อยู่รอบ ๆ ตัว

      กลยุทธ์ที่ 7. ใช้โฆษณาและการประชาสัมพันธ์เป็นเครื่องทุ่นแรง ต้องทำให้โดดเด่นและเห็นชัดที่สุด เพื่อแหวกวงล้อมสินค้ายี่ห้ออื่นๆ  ขณะเดียวกันเราต้องพยายามหยั่งรู้ถึงความรู้สึกนึกคิดและสร้างอิทธิพลเหนือความรู้สึกนึกคิดของผู้บริโภค และแปลงความคิดไปสู่การปฏิบัติหรืองานที่ต้องทำ และทำให้ผู้บริโภคเกิดความเชื่อเพราะจะทำให้เกิดกระแสสังคมที่ที่มีอิทธิพลและสามารถขยายวงกว้างไปด้วยตัวของมันเอง

        กลยุทธ์ที่ 8. (ตอนที่ 1) พุ่งเป้าไปที่ความคิด อย่างเพิ่งมองไปที่ผู้บริโภค คู่แข่งที่สำคัญที่สุดก็คือตัวเราเอง นั่นคือเมื่อเราประสบความสำเร็จสามารถก้าวเข้าไปในสนามแข่งขันกับสินค้าอื่น ๆ ได้แล้ว เราต้องคิดถึงการรักษาโมเมนตัมแห่งความสำเร็จนี้ไว้ เพราะโมเมนตัมคือพลังความคิดขับให้ยี่ห้ออยู่นิ่งๆไม่ได้  ต้องพยายามสร้างสิ่งแปลกๆใหม่ๆอย่างต่อเนื่องเพราะจะทำให้เกิดเอกลักษณ์ จากนั้นผู้บริโภคจะเห็นความแตกต่างและเกิดความรู้สึกที่ขาดเราไม่ได้

   กลยุทธ์ที่ 9.  (ตอนที่ 2) ต้องบินให้ปร๋อ ต้องทำองค์กรก็เหมือนกับเครื่องบิน F16 คือ บินได้คล่องตัวและรู้จักหลบหลีกได้ดีที่สุด เพื่อจะได้มีความยืดหยุ่นในการแก้ปัญหาและมีความคิดแปลกๆใหม่ออกมา พยายามทำให้คนมีความกระตือรือร้น มีความคิดสร้างสรรค์ และมีบรรยากาศแห่งการยอมรับความคิดใหม่ๆ





       
            


ปลาเล็กกินปลาใหญ่ รีบขยับก่อนโดนเขมือบ ...โดย อาดัม มอร์แกน  (เรียบเรียงโดย ดนัย จันทร์เจ้าฉาย)
     

            กล่าวโดยสรุปคือ นอกเหนือจากการที่เราจะต้องนำพาสินค้าของเราไปต่อสู้กับคู่แข่งรายใหญ่ในตลาดแล้ว

คู่แข่งที่สำคัญที่เราจะต้องเอาชนะให้ได้และจะมีผลต่อเนื่องไปสู่ความอยู่รอดของเรานั่นคือ องค์ประกอบสำคัญๆ ที่ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของยี่ห้อของเรา ซึ่งก็คือ กลยุทธ์ทั้ง 8 อย่างที่ผู้เขียนได้กล่าวถึง   นั่นคือเราต้องสร้างเอกลักษณ์ให้กับสินค้าหรือบริการของเราให้แตกต่างบนพื้นฐานของคุณภาพ และน่าเชื่อถือจากยี่ห้อที่เป็นผู้นำตลาด  เราต้องกล้าคิดอะไรที่แตกต่างจากผู้อื่น โดยอย่าจมปลักกับวิธีการแบบเดิม ๆ ต้องทำให้สินค้าหรือบริการของเราโดดเด่นเห็นชัดเมื่อเปรียบเทียบกับคู่แข่ง หรือแม้แต่สินค้าอื่น ๆ   ต้องพยายามใช้พลังความคิดเพื่อให้สินค้าของเรามีความแปลกใหม่อย่างต่อเนื่อง สม่ำเสมอ   ในแง่ขององค์กร ต้องเป็นผู้บริหารขององค์กรที่เสียสละ ทุ่มเท และนำพนักงานในองค์กรให้สู่จุดหมายไปในทิศทางเดียวกัน รับพนักงานที่คิดเป็นทำเป็น และเป็นคนมีความกระตือรือร้น และมีความตื่นตัวอยู่เสมอ คิดอะไรแปลก ๆ ใหม่ๆ องค์กรต้องมีความคล่องตัว และยอมรับการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย ทุกคนต้องมีความปรารถนาและมีอุดมการณ์อย่างเต็มเปี่ยมที่จะก้าวไปถึงจุดหมายร่วมกัน




                          




                          สมาชิกกลุ่ม

นางสาว ยุพารัตน์        เจริญผล         551805011
นางสาว มาริษา          ก้อนคำ           551805036
นางสาว ทิพวรรณ       สิงห์จัน           551805027
นางสาว วารุณี           ศรีจันทร์ตา      551805018
นางสาว ลักษณ์พิรา    ทาแก้ว           551805031

วันอังคารที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2555

หยุดความรุนแรง ยุติ ปัญหานักเรียน นักเลง

นักเรียนนักเลงก่อคดียิงดับ 2 ศพ

วันพฤหัสบดีที่ 14 มิถุนายน 2555 เวลา 05:24 น.

            วันนี้ (13 มิ.ย.) ขณะที่ ร.ต.อ.สุเทพ ปานสีเส้ง พงส.(สบ1) สน.ดอนเมือง กำลังปฏิบัติหน้าที่อยู่ที่ สน.ดอนเมือง ก็ได้รับแจ้งเหตุจากนายทองใบ โพธิ์ศรีราช อายุ 53 ปี พนักงานขับรถโดยสารสาย 59 วิ่งระหว่าง รังสิต – อนุสาวรีย์ชัยฯ ว่า มีนักเรียนนักเลงใช้อาวุธปืนไล่ยิงอริต่างสถาบันบนรถ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 2 ราย และบาดเจ็บอีก 2 ราย เบื้องต้นพนักงานขับรถเมล์คันดังกล่าว ได้นำรถเข้ามาภายใน สน.ดอนเมือง จึงรายงานให้ผู้บังคับบัญชาทราบและไปตรวจสอบพร้อม พล.ต.ต.พิสิฏฐ์ พิสุทธิ์ศักดิ์ รอง ผบช.น. พล.ต.ต.สำเริง สุวรรณพงษ์ ผบก.น.2 พ.ต.อ.เจริญ ศรีศศลักษณ์ รองผบก.น.2 พ.ต.อ.สำราญ นวลมา ผกก.สน.ดอนเมือง
                จากการตรวจสอบบนรถประจำทางสาย 59 สีครีมแดง หมายเลขทะเบียน 12-0332 กทม. หมายเลขข้างรถ 1-42293 บนพื้นรถเมล์คันดังกล่าว พบศพ นายวันชัย ทองสองแก้ว 21 ปี นักศึกษาชั้นปีที่1 โรงเรียนไทยวิจิตรศิลป์ สภาพนอนหงายเหยียดยาวเสียชีวิต สวมเสื้อสีขาว กางเกงยีนส์ รองเท้าผ้าใบ ข้างตัวมีปลอดมีดเหน็บอยู่ ถูกยิงที่ใต้รักแร้ขึ้นมาจนถึงต้นแขนซ้ายจำนวน 8 นัด เสียชีวิตกลางทางเดินบนรถเมล์ ส่วนอีกรายชื่อนางยุพา พลายงาม อายุ 48 ปี อยู่บ้านเลขที่ 12 ซ.รังสิต-นครนายก 59 ต.ประชาธิปัตย์อ.ธัญบุรี จ.ปทุมธานี ผู้โดยสาร เสียชีวิตคาเบาะนั่งโดยสารฝั่งซ้ายข้างประตูทางขึ้น สวมเสื้อสีม่วง กางเกงยืนส์ ส่วนผู้บาดเจ็บอีก 2 ราย คือ นายชัยสิทธิ์ ท้ายเมือง 22 ปี อาการสาหัส และน.ส.กาลสินี เจียนจิตภู่ อายุ 18 ปี ถูกยิงที่แขน เบื้องต้นนำตัวส่งโรงพยาบาลภูมิพล
             สอบสวน นายทองใบ โพธิ์ศรีราช อายุ53 ปี คนขับรถเมล์ ให้การว่า ระหว่างขับรถเมล์คันดังกล่าว มาที่บริเวณเมเจอร์รัชโยธิน ก็ได้รับกลุ่มนักเรียนกลุ่มหนึ่งขึ้นมา และขับมาเรื่อยๆจนกระทั่งรถวิ่งมาถึงหน้าสถานีรถไฟดอนเมือง มีนักเรียนกลุ่มหนึ่งที่ยืนรออยู่ที่ป้ายรถเมล์อยู่ก่อนแล้ว ต่างพยายามวิ่งกรูขึ้นมาบนรถ ตนจึงปิดประตูและขับหนีออกมาทันที จนมาถึงป้ายรถเมล์ที่หน้าอาคารช่างการบินไทย ก็มีผู้โดยสารโบกรถตนจึงต้องจอดรับ จังหวะนั้นได้มีนักเรียนจำนวนประมาณ 5-6 คน ที่ยืนรออยู่ก่อนแล้ว และหนึ่งนั้นได้ใช้อาวุธปืนยิงขึ้นมาบนรถจำนวน 1นัด จนทำให้มีผู้บาดเจ็บและเสียชีวิตดังกล่าว ตนจึงรีบขับรถเข้ามาจอดที่หน้าสน.ดอนเมืองและแจ้งเจ้าหน้าที่ทันที
             ด้าน พล.ต.ต.พิสิฏฐ์ กล่าวว่า เหตุดังกล่าวเป็นการทะเลาะซึ่งหน้า และน่าจะเป็นการลงมือของคู่อริ ซึ่งกลุ่มนักเรียนที่ก่อเหตุอาจใช้วิธีการส่งข้อความทางโทรศัพท์มาหาเพื่อน ว่ามีคู่อริอยู่บนรถเมล์คันดังกล่าว จึงมาดักรอเพื่อก่อเหตุ ทั้งนี้จากการสอบสวนทราบว่า ที่จุดเกิดเหตุมีนักเรียนอยู่ 6 คน ซึ่ง 1ในนั้นได้ใช้อาวุธปืนลูกซองสั้นแบบไทยประดิษฐ์ยิงขึ้นมาบนรถ ก่อนจะวิ่งแยกย้ายหลบหนีไปซึ่งเบื้องต้นจะทำการตรวจสอบกล้องวงจรปิด และสอบปากคำพยานผู้เห็นเหตุการณ์อย่างละเอียดอีกครั้ง ซึ่งผู้ก่อเหตุไม่น่าเป็นเยาวชนแล้ว ทางเจ้าหน้าที่จะเร่งจับกุมตัวมาดำเนินคดีตามกฎหมายอย่างเร็วที่สุด

            ดูคลิป นักเรียนนักเลง

               ก่อคดียิงดับ 2 ศพ






สัญญาณที่บ่งบอกได้ว่า...!!!! วัยรุ่นนิยมใช้ความรุนแรงมากขึ้น !!!!


          ล่าสุด เอแบคโพลล์ออกมาเปิดเผยว่า เยาวชนไทยนิยมใช้ความรุนแรงสูงถึง 20 เท่า เหตุจากสารเสพติด เหล้า เบียร์ เกมออนไลน์ และรายการทีวี ซึ่งเป็นที่น่าตกใจ...!!!

            โดย ดร.นพดล กรรณิกา ผู้อำนวยการศูนย์เครือข่ายวิชาการเพื่อสังเกตการณ์และวิจัยความสุขชุมชน หรือ ศูนย์วิจัยความสุขชุมชน มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ เปิดเผยว่า จากผลวิจัยเชิงสำรวจ เรื่อง สถานการณ์การใช้ความรุนแรงในกลุ่มเด็กและเยาวชน พบว่า เด็กและเยาวชน
       

  แต่พอถามถึงรายการโทรทัศน์ที่ติดตาม กลับพบว่าเป็นละครโทรทัศน์ ถึงร้อยละ 64.3 รองลงมาคือรายการเพลง ร้อยละ 57.9 รายการข่าว ร้อยละ 55.6 รายการเกมโชว์ ร้อยละ 44.5 รายการวาไรตี้ หรือ ทอล์คโชว์ ร้อยละ 40.3 และรายการการ์ตูน ร้อยละ 34.2

   ที่น่าสนใจ...!!! คือ เด็กและเยาวชนเกินครึ่ง หรือร้อยละ 52.2 พบเห็นภาพความรักความอบอุ่นของครอบครัวผ่านรายการโทรทัศน์บ่อยๆ รองลงมาคือ ร้อยละ 40.3 พบเห็นภาพการทำบุญทำทาน กิจกรรมทางศาสนาบ่อยๆ และร้อยละ 39.4 ที่พบเห็นภาพการบำเพ็ญประโยชน์เพื่อสังคมบ่อยๆ

  แต่ที่น่าเป็นห่วง...เมื่อเด็กและเยาวชนถึงร้อยละ 60.8 พบเห็นภาพการใช้อาวุธ เช่น อาวุธปืน มีด ทำร้ายกันบ่อยๆ รองลงมาคือ ร้อยละ 57.5 พบเห็นภาพการต่อสู้ทำร้ายร่างกายกันบ่อยๆ ร้อยละ 51.4 พบเห็นภาพของสงครามและการฆาตกรรม บ่อยๆ ร้อยละ 49.3 พบเห็นภาพการคุกคามทางเพศ บ่อยๆ ร้อยละ 46.5 พบเห็นพฤติกรรมการพูดจาหยาบคาย ด่าทอ โต้เถียงกัน บ่อยๆ และร้อยละ 39.3 พบเห็นภาพการทะเลาะวิวาทของคนในครอบครัว บ่อยๆ

  เมื่อถามถึงกิจกรรมสร้างสรรค์ที่เด็กและเยาวชนทำเป็นประจำในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา พบว่า ร้อยละ67.9 ระบุเรียนพิเศษ ส่วนกิจกรรมที่ไม่สร้างสรรค์ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 55.0 เล่นเกมคอมพิวเตอร์หรือเกมออนไลน์ประเภทเกมต่อสู้ เช่น ยิงปืน ฟัน เตะ ต่อย ร้อยละ 34.1 ดื่มเหล้า เบียร์ ไวน์ ร้อยละ 25.9 เที่ยวกลางคืน เช่น ผับ ดิสโก้ คาราโอเกะ และที่น่าเป็นห่วง คือ เกือบ 1 ใน 4 หรือร้อยละ 23.7 หนีเรียน ร้อยละ 21.4 เล่นการพนัน ร้อยละ 16.7 เข้าร่วมกับกลุ่มเพื่อนบุกยกพวกตีกัน ร้อยละ 16.7 ทะเลาะวิวาทกับผู้อื่นโดยใช้กำลัง ร้อยละ 13.5 ใช้สิ่งเสพติดประเภทต่างๆ และร้อยละ 14.1 ทะเลาะกับผู้อื่นโดยใช้อาวุธ



และนั่นเป็นตัวบ่งบอกถึงพฤติกรรมเด็กที่กำลังเปลี่ยนแปลงไปในทางที่แย่ลง
           
 ซึ่งหน่วยงานรัฐและผู้ใหญ่ในสังคมที่เกี่ยวข้อง จำเป็นต้องรีบเยียวยาปัญหาเหล่านี้ ก่อนที่จะมี เหยื่อบริสุทธิ์ ของพฤติกรรมการใช้ความรุนแรงจากกลุ่มเด็กและเยาวชนเพิ่มขึ้นอีกมากจนยากจะควบคุมสถานการณ์การใช้ความรุนแรงในสังคมไทยได้

เมื่อปัญหาต่างๆ กำลังทวีความรุนแรงและเพิ่มมากขึ้นทุกวัน เราจะแก้ไขอย่างไรดี? ถึงจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด



พระราชวิจิตรปฏิภาณ (เจ้าคุณพิพิธ)  


๑๒  กพ.๒๕๕๒



ได้ให้คำแนะนำไว้ว่า...

                      ใคร ๆ  ลองหาซื้อเพลงของนักร้องชื่อนี้ไปเปิดให้นักเรียนนักศึกษาพวกนั้นฟังบ่อย ๆ  เขาจะได้มีสติพิจารณาตนเองกันเสียบ้าง....

ถ้าชอบตี
ให้ไปเรียนวิชากระบี่กระบอง
ถ้าชอบแทง
ให้ไปเรียนวิชาฟันดาบฝรั่ง
ถ้าชอบต่อย
ให้ไปเรียนวิชาเป็นนักมวย
ถ้าชอบยิง
ให้ไปสมัครเป็นมือปืนทีมชาติหรือไปเป็นทหารตำรวจ
ถ้าชอบรุม
ให้ไปเป็นนักรักบี้  หรือ  อเมริกันฟุตบอล
ถ้าชอบทำปืนและ ระเบิด
ให้ไปเรียนวิชาผลิตอาวุธกับคลังแสงของทหาร จะได้ลดการซื้ออาวุธจากต่างประเทศ
ถ้าถูกเขาไล่ตีแล้วหนีไม้หนีมีดทัน
ให้ไปเรียนเป็นนักวิ่งทีมชาติ
ถ้าวิ่งตามทันคู่อริ
ให้ไปสมัครแข่งวิ่งผลัด ๔

 วิธีแก้ไขที่เด็ดขาดที่สุดคือ....
นักศึกษาปี ๑-๒  เรียนที่   ราชมงคลอุเทนถวาย

นักศึกษาปี ๒-๔  เรียนที่  เทคโนปทุมวัน

หรืออาจจะสลับกันตามสถานพื้นที่และอาคาร  ก็ได้....

ถ้าเทคโนปทุมวันยังแยกส่วนงานก็กลับมาเป็นราชมงคล  


แล้ว  เบ่งพื้นที่  ๑-๒ เรียนปทุมวัน  


ปี ๓-๔  เรียนอุเทนถวาย  


ความเป็นชนชั้นก็หมดไป เท่านี้ก็สิ้นเรื่อง.




 ....ความรุนแรง ไม่ใช่ทางออกสุดท้ายของการแก้ปัญหา...



แหล่งที่มา :  



Sec. AD
นางสาว ยุพารัตน์ เจริญผล      551805011
นางสาว มาริษา ก้อนคำ           551805036